วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

100 ข้อคิดสั้นๆ


100 ข้อคิดสั้นๆ 

1. เอาใจเขามาใส่ใจเรา
2. เชื่อมั่นตัวเอง
3. อย่ามองคนที่หน้าตา
4. กล้าคิด พูด และทำ
5. เมื่อมีเรื่อง จงหมั่นปรึกษาผู้อื่น
6. และจงเป็นที่ปรึกษาให้ผู้อื่นด้วย
7. อย่าโกหกกับเรื่องที่คุณคิดว่าผิด
8. ไว้ใจบุคคลที่สมควรไว้ใจ
9. เปิดใจให้กว้าง
10. มองการณ์ไกล
11. วางแผนอนาคต
12. อย่าโทษตัวเอง
13. มีความรับผิดชอบ
14. ตอบแทนเมื่อได้รับ
15. ให้ในสิ่งที่ผู้อื่นอยากได้และไม่มี
16. อย่าใช้อารมณ์ แต่จงใช้ความคิด
17. คิดถึงส่วนรวมให้มาก
18. ดูแลตัวเองให้เป็น
19. รู้ผิด ชอบ ชั่ว ดี
20. อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยเสียเปล่า
21. อย่ารู้ค่าสิ่งที่อยู่กับเราต่อเมื่อเราสูญเสียไปแล้ว
22. จงรู้ตัวอยู่เสมอว่าตอนนี้กำลังทำอะไร
23. ที่ทำอยู่มีผลดี ผลเสีย มีประโยชน์ หรือไร้ประโยชน์
24. อย่าวัวหายแล้วล้อมคอก
25. ให้อภัยแก่ตนเองและผู้อื่น
26. อย่าเก็บอดีตมาทำร้ายตนเอง แต่จงหัดที่จะเรียนรู้จากมัน
27. คนไม่ผิดคือคนที่ไมม่เคยทำอะไร
28. ได้หน้าอย่าลืมหลัง
29. คุณไม่ใช่พระเจ้า อย่าคิดซ่อมความรู้สึก แต่จงวางแผนที่จะดูแลมันไม่ให้เสีย
30. อย่าอ่านข้อความที่มีประโยชน์ผ่าน ๆ
31. อ่านแล้วคิด คิดแล้วทำ หมั่นพัฒนาตนเอง
32. รู้จักแบ่งเวลา และหน้าที่
33. ทำประโยขน์ให้แก่ส่วนรวมบ้าง
34. อย่าเห็นแก่ตัว
35. อย่ารอคอยในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
36. อย่ากลัวในสิ่งที่ตนสามารถสู้หรือเปลี่ยนแปลงมันได้
37. กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ หัดเติมให้คนอื่น แล้วเขาจะกลับมาเติมให้คุณเอง
38. เพื่อนไม่จำเป็นต้องเจอหน้ากันก้อคุยกันได้
39. อย่าคิดว่าเขาไม่โทร. มา ถ้าคุณก้อไม่เคยโทร. ไป
40. จง เป็นฝ่ายให้มากกว่าเป็นฝ่ายรับ
41. ดูแลบิดามารดาให้ดี คุณมีโอกาศ รีบทำซะก่อนที่จะไม่มี
42. อย่าเสียใจกับสิ่งที่เลวร้ายหรือสูญเสียไปแล้ว มันไม่กลับมา แต่คุณสามารถทำมันใหม่หรือเรียนรู้จากมันได้
43. คำพูดเมื่อพูดไปแล้วไม่สามารถเรียกกลับมาได้ ดังนั้น คิด ก่อนพูด
44. อย่าทุ่มเทในสิ่งที่ไร้ประโยชน์
45. คำพูดให้กำลังใจคนได้ ปลอบใจได้ ยุให้ทะเลาะกันได้ ทำให้เสียความรู้สึกได้ จงรู้ที่จะพูด
46. ชีวิตไม่ใช่เกม พลาดแล้วไม่สามารถเริ่มใหม่หรือกดโหลดได้
47. หาจุดหมายให้กับชีวิต
48. เครียดได้ แต่เครียดให้เป็น
49. ถ้างง เขียนหนังสือได้ แต่เขียนให้เป็นภาษา
50. วัน ๆ หนึ่งคุณทำอะไรบ้าง ที่ไม่ใช่ กิน นอน เล่น
51. ไม่มีหมอคนไหนรอให้คนไข้จะตายแล้วค่อยช่วยหรอกนะ
52. เพื่อนคุณก้อเช่นกัน อย่าปล่อยให้เขาเครียดจนจะตายแล้วถึงไปถามหรือดูแล
53. ร่างกายไม่ใช่เครื่องจักร ให้มันพักผ่อนซะบ้าง
54. คุณซื้อนาฬิกาได้ แต่คุณไม่สามารถซื้อเวลาได้
55. ตอนนี้มีใครคอยคุณอยู่รึเปล่า ถ้ามีกลับไปหาซะ
56. ตอนนี้คุณคอยใครอยู่รึเปล่า จะคอยอย่างนี้ไปถึงเมื่อไหร่ ทำอะไรซะบ้าง
57. อย่ากล่าวคำขอโทษบ่อย มีอะไรดี ๆ ตั้งหลายอย่างที่ทำแล้วไม่ต้องตามไปขอโทษ
58. ตอนคุณลำบากคุณคิดถึงใคร คุณอยากให้ใครช่วยเหลือ
59. ตอนนี้คนกำลังสบายอยู่ แล้วคนที่คุณเคยขอความช่วยเหลือล่ะ หมดประโยชน์แล้วหรือ
60. ไม่ใช่ แล้วไง ต้องให้บอกต่อมั้ย
61. ทำอะไรก้อได้ให้ตัวเองมีความสุข แต่อย่าบนทุกข์ของคนอื่น
62. ตอนที่คนกำลังอ่านประโยคนี้ จงจำไว้ว่าคุณเป็นมนุษย์ และยังมีชีวิตอยู่
63. ใครเป็นคนทำให้คุณมีชีวิต ตอบแทนเขาบ้างหรือยัง
64. ไม่ต้องรอให้ถึงวันพิเศษใด ๆ แค่เข้าไปบอกเขาว่ารักก้อเพียงพอแล้ว
65. อย่ารอให้ถึงวันกิดเพื่อน ถึงจะได้คุยกันหรือให้ของขวัญกัน
66. ไม่มีกฏหมายข้อใดห้ามให้ของขวัญในวันธรรมดา
67. ถ้าเป็นคุณอยู่ดีๆมีเพื่อนเอาขนมมาให้ คุณจะรู้สึกดีมั้ย หรือดูที่ราคาขนม
68. เหล้าทำให้คุณลืมได้ตอนเมาแอ๋ แต่เพื่อนแท้ทำให้คุณลืมเรื่องร้ายๆได้ตลอดชีวิต
69. อย่าคิดว่าตนเองไม่มีเพื่อนหรือไม่มีใคร อย่างน้อยๆถ้าคุณได้อ่านข้อความนี้ จงรู้ไว้ว่าคุณยังมีคนพิมพ์คนนี้อีกคน
70. อย่าคิดว่าตนเองเป็นคนโชคร้ายที่สุด และอย่าคิดว่าตนเองเป็นคนโชคดีที่สุด
71. อย่าพูดว่าไม่มาเป็นเราไม่รู้หรอก ถ้า งั้นคุณก้อไม่รู้เรื่องของเขาเช่นกัน
72. เหนื่อยนักก้อหยุดพักซะบ้าง
73. อย่าคิดว่าคนดีไม่มีในสังคม เพราะคุณก้อเป็นคนเพียงแต่คุณยังไม่ได้ทำอะไรบางอย่าง
74. ปริศนาในเกมคุณแก้ได้ แล้วทำไมปริศนาในชีวิตคุณแก้ไม่ได้ ในเมื่อบทสรุปอยู่ในตัวคุณ
75. คุณมองเพชรที่ความงามภายในหรือป้ายราคาภายนอย
76. ถ้าคุณกินอาหารเหลือ ลองนึกถึงเด็กที่ไม่มีอันจะกิน
77. มีเรื่องราวอีกมากมายที่ไม่ได้เขียนอยู่ในหนังสือ ลองค้นคว้าดูจะรู้
78. ลูกธนูที่ถูกปล่อยจากหน้าไม้ อันตรายน้อยกว่าหอกที่เเทงมาจากข้างหลัง
79. การถูกหักหลังเป็นสิ่งที่เจ็บปวด อย่าให้มันเกิด
80. ทำยังไง ต้องให้ขโมยขึ้นบ้านก่อน ถึงไปดูรั้วบ้านใช่มั้ย
81. ทำใจกับสิ่งต่างๆล่วงหน้าไว้บ้างก้อดี
82. จะยกตัวอย่าง สมมติคนที่คุณรักจากไปตอนนี้ คุณคิดว่า คุณทำอะไรให้เขาบ้างหรือยัง
83. อย่าตอบว่าทำยังไงก้อตอบแทนไม่หมด ขอถามว่าทำครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่
84. คุณทำใจได้แล้วหรือถ้ามันเกิดอะไรขึ้น คุณไปร้องไห้ข้างโลงศพ ยังไงเขาก้อไม่ฟื้นมาได้ยินหรอกนะ
85. ตัวคุณมีค่าอยู่แล้ว อยู่ที่คุณรุ้จักดึงมันออกมาใช้ได้รึเปล่า
86. หัดคุยกับตัวเองซะบ้าง แล้วจะรู้ว่ามีอะไรอีกมากมายที่คุณยังไม่รู้
87. ร่างกายใช้มากี่ปีแล้ว เคยดูแลมันบ้างรึเปล่า หรือเอาไว้เพื่อให้วิญญาณมีที่สิงสถิต
88. การใส่เสื้อสวย ๆ ไม่ช่วยให้ร่างกายดีขึ้นหรอกนะ ที่ดีขึ้นคือบุคลิกต่างหาก
89. หาความสุขของตัวเองให้เจอ หัดมีความสุขซะบ้าง อดีตเราลืมไม่ได้แต่เลิกคิดได้
90. ลองทำอะไรบ้า ๆ บ้างก้อดี อย่ายึดติดนักเลย
91. ผู้พิมพ์ไม่ใช่คนรู้อะไรมากมาย ไม่ได้มาโชว์ว่าตัวเองอวดรู้ แต่อยากให้คุณได้รุ้อะไรไว้บ้างก้อดี
92. สิ่งที่คุณปล่อยผ่านๆ ไปในชีวิตหรือเรื่องคุณเห็นว่าไม่สำคัน กลับมาดูเเลตรงนั้นบ้างก้อดี
93. อย่าไว้ใจใครเกินไป ไม่ได้สอนให้ระแวงไม่ไว้ใจใคร แต่ระวังไว้บ้างก้อดี
94. อย่าตามเพื่อนนัก กินเหล้ากิน เล่นไพ่เล่น เที่ยวหญิงเที่ยว
95. ยาเสพติดทุกชนิด อย่าคิดจะลองเด็ดขาด
96. อย่าทำตามเพื่อนเพราะเพื่อนทำกันหมด ร่างกายเขากับร่างกายเรา แน่นอนจิตใจก้อเหมือนกัน
97. ผู้ชายยังไงก้อคือผู้ชาย ผู้หญิงยังไงก้อคือผู้หญิง
98. บางครั้งการอยู่คนเดียวก้อไม่ได้เลวร้ายเสมอไป
99. ไม่มีมิตรถาวรและศัตรูที่เเท้จริง
100. จงทำวันนี้ให้ดีที่สุด เพื่อตัวเราเอง คนที่เรา รัก และคนที่อยู่รอบกายเรา 

สูตรหน้าใสด้วยน้ำผึ้งผสมมะนาว

สูตรหน้าใสด้วยน้ำผึ้งผสมมะนาว

ส่วนผสม

น้ำผึ้ง 1 ถ้วย

น้ำมะนาว 1 ช้อนชา


วิธีทำ: ผสมน้ำผึ้งกับน้ำมะนาวให้เข้ากัน นำมานวดให้ทั่วใบหน้าประมาณ 15 นาที หลังจากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด
  • มะนาว จะช่วยขจัดเซลล์ผิวเช่นเดียวกับครีมที่ผสมกรด AHA ส่วนน้ำผึ้งจะทำให้ผิวหน้านุ่มและชุ่มชื้น

ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์


การแก้ปัญหาด้วยภาษาคอมพิวเตอร์นั้น หลังจากที่ได้วิเคราะห์ปัญหาจนได้ขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบรหัสจำลอง หรือผังงาน ขั้นตอนต่อไปคทอการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ แต่เนื่องจากคอมพิสเตอร์จะรับรู้คำสั่ง ที่เป็นภาษาเครื่องเท่านั้น และมนุษย์ไม่สามารถเขียนโปรแกรมภาษาเครื่องได้โดยตรง เนื่องจากไม่สะดวก ยากต่อการทำความเข้าใจ จึงได้มีการสร้างภาษาระดับสูงขึ้นมาเพื่อให้ง่ายต่การเขียนโปรแกรม ผู้เขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องเรียนรู้การทำงาน และโครงสร้างภายในของเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเขียนโปรแกรมได้ โดยต้องผ่านการแปลให้เป็นภาษาเครื่องก่อนที่จะใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์  การเลือกใช้ภาษาใดเพื่อแก้ปัญหา จำเป็นต้องเลือกภาษาให้เหมาะสมกับลักษณะของภาษา เนื่องจากภาษาคอมพิสเตอร์มีมากมาย ในที่นี้จะได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญ ความเหมาะสม และตัวอย่างของภาษาที่นิยมใช้กันในทั่วไปซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มเชิงกระบวนความ กลุ่มเชิงวัตถุ และกลุ่มอื่นๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้



ภาษาเชิงกระบวนความ (procedural  languages)
         โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนด้วยภาษาเชิงกระบวนความมีลักษณะการทำงานตามลำดับของคำสั่ง จากคำสั่งแรกจนถึงคำสั่งสุดท้าย และบางคำสั่งอาจจะถูกทำซ้ำ หรือบางคำสั่งอาจจะไม่ถูกกระทำเลยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในโปรแกรม ภาษาในกลุ่มนี้เหมาะสำหรับการเริ่มต้นทำความเข้าใจกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เนื่องจากช่วยให้ผู้เรียนรู้จักการคิดอย่างเป็นระบบ อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการเขียนโปรแกรมภาษาอื่นนอกจากนี้ในภาษาโปรแกรมประเภทอื่นก็จะยังมีรูปแบบการทำงานเชิงกระบวนความแฝงอยู่ภายในด้วยเสมอ การใช้งานภาษาในกลุ่มนี้ เช่น งานคำนวณทางวิทยาศาสตร์อาจเลือกใช้ภาษาฟอร์แทรน(FORTRAN) งานประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจการเงินหรือธนาคารอาจเลือกใช้ภาษาโคบอล (COBOL)หรือภาษาอาร์พีจี (RPG) การเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของ
ระบบคอมพิวเตอร์มักเลือกใช้ภาษาซีเนื่องจาภาษาเครื่องที่ได้จะทำงานได้รวดเร็ว หรือการเรียนการสอนการโปรแกรมเชิงกระบวนความอาจเลือกใช้ภาษาปาสคาล (Pascal) หรือภาษาซี เป็นต้น




ภาษาเชิงวัตถุ (object  oriented  language)

ภาษาเชิงวัตถุจะอำนวยความสะดวกให้กับผู้เขียนโปรแกรมในการพัฒนาโปรแกรมที่ใหญ่และซับซ้อนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถเขียนใช้โปรแกรมในลักษณะเดียวกับภาษาเชิงกระบวนความได้เช่นกัน ภาษาในกลุ่มนี้เช่น ภาษาจาวา (Java ) ภาษาซีชาร์ป (C#) และภาษาซีพลัสพลัส (C++)





ตัวอย่างโปรแกรมภาษาซีพลัสพลัสที่ให้ผู้เล่นทายตัวเลขที่โปรแกรมสุ่มขึ้นมาหนึ่งตัว 


ปัจจุบันได้มีการคิดค้นเครื่องมือช่วยให้นักเขียนโปรแกรมสามารถพัฒนาโปรแกรมที่ใช้ภาษาเชิงวัตถุได้ง่ายขึ้น โดยใช้การเขียนโปรแกรมแบบวิชวล นักเขียนโปรแกรมจะออกแบบหน้าจอสำหรับติดต่อกับผูํ้ใช้ก่อน แล้วเขียนโปรแกรมสำหรับแต่ละส่วนบนหน้าจอ ทำให้จัดสร้างโปรแกรมได้ง่าย และรวดเร็ว ตัวอย่างของเครื่องมือประเภทนี้ เช่น ไมโครซอฟต์วิชวลสตูดิโอ อีคลิปส์ และเน็ตบีน




                                       ไมโครซอฟต์วิชวลสตูดิโอซีพลัสพลัส


ภาษาอื่นๆ

1. โฟร์ทจีแอล  (fourth-generation languages: 4GLs) เป็นกลุ่มของภาษาที่แตกต่างจากภาษาเชิงกระบวนความ ที่เน้นให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูลได้โดยง่าย ภาษาจะมีความคล้ายคลึงกับภาษาอังกฤษที่ใช้กันอยู่ ตัวอย่างของภาษา 4GL เช่น ภาษาเอสคิวแอล (SQL)
2. เอชทีเอ็มแอล  (Hypertext Markup Language: HTML)เป็นภาษาที่ใช้จัดรูปแบบการแสดงผลของข้อความ
และรูปภาพรวมถึงสื่อประสมบนหน้าเว็บ ดังนั้นเอชทีเอ็มแอลจึงไม่ได้ถูกจัดเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม
อย่างแท้จริง แต่เป็นการกำหนดวิธีการในการแสดงผล เอชทีเอ็มแอลจะใช้แท็ก (tags)เป็นตัวกำหนดว่าส่วนใด
ในเอกสารจะให้แสดงผลอย่างไร รูปที่ 7.7 (ก) แสดงตัวอย่างของภาษาเอชทีเอ็มแอลที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจใน




รูปที่ 7.7 (ก) ส่วนหนึ่งของภาษาเอชทีเอ็มแอลที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ

เกร็ดน่ารู้

ภาษาคอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) และภาษาระดับสูง (High Level Language)

 ภาษาเครื่อง (Machine Language)

 ภาษานี้ประกอบด้วยตัวเลขล้วน ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทันที ผู้ที่จะเขียนโปรแกรมภาษาเครื่องได้ ต้องสามารถจำรหัสแทนคำสั่งต่าง ๆ ได้ และในการคำนวณต้องสามารถจำได้ว่าจำนวนต่าง ๆ ที่ใช้ในการคำนวณนั้นถูกเก็บไว้ที่ตำแหน่งใด ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมจึงมีมาก นอกจากนี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละระบบมีภาษาเครื่องที่แตกต่างกันออก ทำให้เกิดความไม่สะดวกเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์เพราะจะต้องเขียนโปรแกรมใหม่ทั้งหมด

ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language)

เนื่องจากภาษาเครื่องเป็นภาษาที่มีความยุ่งยากในการเขียนดังได้กล่าวมาแล้ว จึงไม่มีผู้นิยมและมีการใช้น้อย ดังนั้นได้มีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นอีกระดับหนึ่ง โดยการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นรหัสแทนการทำงาน การใช้และการตั้งชื่อตัวแปรแทนตำแหน่งที่ใช้เก็บจำนวนต่าง ๆ ซึ่งเป็นค่าของตัวแปรนั้น ๆ การใช้สัญลักษณ์ช่วยให้การเขียนโปรแกรมนี้เรียกว่า “ภาษาระดับต่ำ”ภาษาระดับต่าเป็นภาษาที่มีความหมายใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมากบางครั้งจึงเรียกภาษานี้ว่า  “ภาษาอิงเครื่อง” (Machine – Oriented Language) ตัวอย่างของภาษาระดับต่ำ  ได้แก่ ภาษาแอสเซมบลี เป็นภาษาที่ใช้คำในอักษรภาษาอังกฤษเป็นคำสั่งให้เครื่องทำงาน 
 
ภาษาระดับสูง (High Level Language)

เป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรมกล่าวคือลักษณะของคำสั่งจะประกอบด้วยคำต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที ผู้เขียนโปรแกรมจึงเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงได้ง่ายกว่าเขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีหรือภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีมากมายหลายภาษา อาทิเช่น ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาเบสิก(BASIC) ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic) ภาษาซี (C) และภาษาจาวา (Java) เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงแต่ละภาษาจะต้องมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เช่น โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรนเป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมแปลภาษาปาสคาลเป็นภาษาเครื่อง คำสั่งหนึ่งคำสั่งในภาษาระดับสูงจะถูกแปลเป็นภาษาเครื่องหลายคำสั่ง


ภาษาที่นิยมใช้กันมาก

 ผลการศึกษาล่าสุดพบว่าภาษาโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ จาวา ซี และวิชวลเบสิก สำหรับภาษาที่นิยมรองลงมาคือ ซีพลัสพลัส พีเอชเอ เพิร์ล ไพทอน ซีชาร์ป และรูบี้